วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ระบบคอมพิวเตอร์ เรื่อง การป้องกันและระบบความปลอดภัย




















จุดประสงค์หลักของความปลอดภัยทางข้อมูล
1. การรักษาความลับ (Confidentiality) คือการรับรองว่าจะมีการเก็บข้อมูลไว้เป็นความลับ และผู้มีสิทธิเท่านั้นจึงจะเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
2. การรักษาความสมบูรณ์ (Integrity) คือการรับรองว่าข้อมูลจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลงหรือทำลายไม่ว่าจะเป็นโดย อุบัติเหตุหรือโดยเจตนา
3. ความพร้อมใช้ (Availability) คือการรับรองว่าข้อมูลและบริการการสื่อสารต่าง ๆ พร้อมที่จะใช้ได้ในเวลาที่ต้องการใช้งาน
4. การห้ามปฏิเสธความรับผิดชอบ (Non-Repudiation) คือวิธีการสื่อสารซึ่งผู้ส่งข้อมูลได้รับหลักฐานว่าได้มีการส่งข้อมูลแล้วและผู้รับก็ได้รับการยืนยันว่าผู้ส่งเป็นใคร ดังนั้นทั้งผู้ส่งและผู้รับจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าวในภายหลัง



ภัยคุกคามทางด้านข้อมูล
Hacker คือ ผู้ที่แอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรอื่นโดยมิได้รับอนุญาต แต่ไม่มีเจตนาที่จะสร้างความเสียหายหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ใครทั้งสิ้นเพียงแค่ต้องการทดสอบความรู้ความสามารถของตนเอง
Cracker คือ ผู้ที่แอบเข้าใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือองค์กรอื่น  โดยมีเจตนาร้ายที่จะสร้างความเสียหายให้กับระบบ Network หรือขโมยข้อมูลที่เป็นความลับทางธุรกิจ
ไวรัส
(Virus)   คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่เขียนขึ้นโดยความตั้งใจของ Programmer  ถูกออกแบบมาให้แพร่กระจายตัวเองจากไฟล์หนึ่งไปยังไฟล์อื่นๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ไวรัสจะแพร่กระจายตัวเองอย่างรวดเร็วไปยังทุกไฟล์ภายในคอมพิวเตอร์   หรืออาจจะทำให้ไฟล์เอกสารติดเชื้ออย่างช้าๆ   แต่ไวรัสจะไม่สามารถแพร่กระจายจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้ด้วยตัวมันเอง  โดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากการที่ผู้ใช้ใช้สื่อจัดเก็บข้อมูล เช่น Diskette คัดลอกไฟล์ข้อมูลลง Disk  และติดไวรัสเมื่อนำไปใช้กับเครื่องอื่น  หรือไวรัสอาจแนบมากับไฟล์เมื่อมีการส่ง E-mail ระหว่างกัน
หนอนอินเตอร์เน็ต
 (Worms)   มีอันตรายต่อระบบมาก  สามารถทำความเสียหายต่อระบบได้จากภายใน เหมือนกับหนอนที่กัดกินผลไม้จากภายใน   หนอนร้ายเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (ผ่านสาย Cable) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเองอย่างรวดเร็วและรุนแรงกว่าไวรัส เมื่อไรก็ตามที่คุณสั่ง Share ไฟล์ข้อมูลผ่าน  Network  เมื่อนั้น Worms สามารถเดินไปกับสายสื่อสารได้
Spam mail  คือ  การส่งข้อความที่ไม่เป็นที่ต้องการให้กับคนจำนวนมาก    จากแหล่งที่ผู้รับไม่เคยรู้จักหรือติดต่อมาก่อน โดยมากมักอยู่ในรูปของ E-mail    ทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการลบข้อความเหล่านั้นแล้ว Spam  mail  ยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย



การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
การเข้ารหัส (Cryptography) 
 คือ การทำให้ข้อมูลที่จะส่งผ่านไปทางเครือข่ายอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถอ่านออกได้ ด้วยการเข้ารหัส (Encryption) ทำให้ข้อมูลนั้นเป็นความลับ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิ์จริงเท่านั้นจะสามารถอ่านข้อมูลนั้นได้ด้วยการถอดรหัส (Decryption




ลายมือชื่อดิจิทัล  (Digital Signature)
ลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) หรือเรียกอีกอย่างว่า ลายเซ็นดิจิตอล   ใช้ในการระบุตัวบุคคลเพื่อแสดงถึงเจตนาในการยอมรับเนื้อหาในสัญญานั้น ๆ   และป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบ  เพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมร่วมกัน



การรักษาความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
SSL (Secure Sockets Layer)
              SSL  ใช้ในการรักษาความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมต่าง  ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต  ซึ่ง  SSL นั้นจะใช้ในการเข้ารหัส (encrypt) ข้อมูล    ใช้ในการตรวจสอบและยืนยันฝ่ายผู้ขายว่ามีตัวตนอยู่จริง


การป้องกัน Hacker กับ Cracker
                การป้องกันที่ได้ผลดีที่สุดคือการใช้   รหัสผ่าน (Password)      และใช้ Server   ที่มีความปลอดภัยสูง (Secured Server)       ไฟร์วอลล์ (Firewall)    และเราท์เตอร์ (Router)    แต่ไม่ว่าจะป้องกันด้วยวิธีใดก็แล้วแต่   ก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าวิธีนั้น ๆ จะสามารถป้องกันได้  100%   ตราบใดที่เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นยังมีการเชื่อมต่อระบบเครือ
Password
                เป็นการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานในการ Login  เข้าสู่ระบบ  โดยการตั้งรหัสผ่าน (Password)  นั้นควรมีความยาวอย่างน้อย 6  ตัวอักษร   และไม่ควรง่ายต่อการเดา     และควร Update  รหัสผ่านอยู่บ่อย
Firewall
                กำแพงไฟ (Firewall)   เป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์  องค์กรที่มีการเชื่อมต่อเครื่อข่ายกับภายนอก   จะใช้ Firewall    เพื่อกันคนนอกเข้ามาในเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต    ป้องกันการบุกรุกจาก Hacker และ Cracker  ที่จะทำอันตรายให้กับเครือข่ายขององค์กร    ซึ่ง Firewall จะอนุญาตให้เฉพาะข้อมูลที่มีคุณลักษณะตรงกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้   ผ่านเข้าออกระบบเครือข่ายได้
                นอกจากนี้   Firewall   ยังสามารถกรอง  Virus  ได้   แต่ไม่ทั้งหมด   และก็ไม่สามารถป้องกันอันตรายที่มาจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทุกรูปแบบ
Clipper Chip
                เป็นวงจรฮาร์ดแวร์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะเข้ารหัสเพื่อใช้ในการสื่อสารกันบนอินเทอร์เน็ต คลิปเปอร์ชิปได้รับการเสนอโดยรัฐบาลสหรัฐฯ    ชิปนี้ได้จัดทำขึ้นโดยที่ทางรัฐบาลสามารถถอดรหัสนี้ได้ ทำให้เกิดการโต้เถียงกันมากว่ารัฐบาลสหรัฐฯ  สามารถติดตามการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตได้หมด
อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลสหรัฐฯ ก็อ้างว่า รัฐบาลจะถอดรหัสข้อมูลตามคำสั่งศาลเท่านั้น 



การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ
มีหลายวิธีที่จะใช้สำหรับการรักษาความปลอดภัยให้กับตัวเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์    เช่น
1. การใช้พนักงานรักษาความปลอดภัยอาจใช้ รปภ. จับขโมยและผู้บุกรุก







2. ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้า - ออก   จากห้องคอมพิวเตอร์   เช่น
- ล๊อคห้องคอมพิวเตอร์ด้วยกุญแจ




-เข้าและออกจากห้องด้วยระบบ  Key Card       

      


-ใช้ระบบเข้าออกจากห้องโดยการสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scan)




-ใช้ระบบสแกนม่านตา (Eye Scan)



3.  ใช้กุญแจล็อคเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์




4. ใช้ระบบสำรองไฟ     เช่น  ใช้เครื่อง UPS ในการสำรองไฟ  เมื่อไฟดับเพื่อป้องการการเสียหายของ Hardware และข้อมูลภายใน




5.  ใช้สารเคมีในการดับไฟเมื่อเกิดไฟไหม้   เมื่อเกิดไฟไหม้ในห้องคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถใช้น้ำในการดับไฟ เนื่องจากเมื่อดับไฟได้แล้วก็จะทำให้เครื่องและอุปกรณ์เกิดความเสียหาย   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้สารเคมีชนิดพิเศษในการดับไฟ

แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น